วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชุดศรีลังกา ประเทศศรีลังกา

ศรีลังกา
ศรีลังกา เป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ปลายใต้สุดของประเทศอินเดียมีโคลอมโบ เป็นเมืองหลวง เดิมศรีลังกาเป็นอาณานิคมของโปตุเกสและอังกฤษ ต่อมาได้เอกราชเปลี่ยนชื่อ เป็นสาธารณรัฐศรีลังกา ปกครองแบบสังคมนิยม สตรีชาวลังกาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของโลก และเอเชีย คือ นางสิริ มาโวบันดาราไนยเก

การแต่งกาย หญิงชายชาวศรีลังกาจะแต่งตัวคล้ายกับชาวอินเดียมาก และมีเขตติดต่อกับอินโดนีเซีย จึงได้รับอิทธิพลทั้ง 2 ประเทศปะปนกัน แต่ผู้ชายจะมีวิธีการนุ่งผ้าไม่เหมือนกันทีเดียว จะนุ่งคล้าย โจงกระเบน
การแต่งกายของชาวศรีลังกา

ชุดลองยี ประเทศพม่า



สหภาพพม่า
พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยจึงเรียกว่า “สหภาพพม่า” พม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถ ติดต่อกันได้ทั้งทางบก น้ำและอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และเคยตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยัง มิได้เปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกาย เครื่องแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า “ลองยี” (Longeje) ซึ่งมีทั้งผ้าฝ้ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่ว ผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้ เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสื้อตัวสั้น คอกลม ผ่าอกติดกระดุม 5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครั้งเป็นแขนสั้น เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสื้อนิยมใช้ ผ้าเนื้อบาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทั้งหญิง ชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิ้น เงินดิ้น ทอง สะพายย่าม ซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉาน

ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก

ชาย
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก
การแต่งกายของชาวพม่า

ชุดส่าหรี ประเทสอินเดีย

การแต่งกาย ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า
การแต่งกายของชาวอินเดีย

ชุดฮันบก

"ฮันบก" มาจากคำสองคำ คือ
"ฮัน" หมายถึง คนเกาหลี และ "บก" หมายถึง เครื่องแต่งกาย
เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า เครื่องแต่งกาย / ชุดของคนเกาหลี นั้นเอง

ฮันบกในยุคแรกๆ นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
เนื่องจากเกาหลีมีอาณาเขตที่ติดกับดินแดนของจีน

ต่อมาในสมัยโชซอน เริ่มมีการติดต่อกับเปอร์เซียและญี่ปุ่นมากขึ้น
จึงทำให้ชุด "ฮันบก" มีลวดลายมากขึ้น
รวมถึงเริ่มมีเครื่องประดับที่บ่งบอกสถานะและตำแหน่งขึ้นด้วย

โดยทั่วไป ชาวบ้านสามัญ จะสวม "ฮันบก" สีธรรมชาติ

ส่วนผู้มีฐานะจะสวม "ฮันบก" ที่มีสีสัน แต่จะไม่ซ้ำกับสีที่ใช้ในวังหลวง

ฮัน บกเคยถูกใช้เป็นชุดแต่งกายประจำวัน โดย ผู้ชายสมัยก่อนจะสวมใส่ “ชอกอรี” (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และ “พาจิ” (กางเกงขายาว) ขณะที่ ผู้หญิงจะสวมใส่ “ชอกอรี” กับ “ชีมา” (กระโปรง) แต่ปัจจุบันนี้ชาวเกาหลีมักจะใส่ “ฮันบก” เฉพาะโอกาสที่มีการเฉลิมฉลอง หรือวันสำคัญ ๆ เช่น วันแต่งงาน วันซอล ลัล (วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ) หรือวันชูซก(วันขอบคุณพระเจ้า)

ผ้าที่นำ มาใช้ตัดชุดฮันบกมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าป่าน ผ้าฝ้ายมัส ลิน ผ้าไหม ผ้าแพร โดยผู้สวมใส่จะเลือกใส่ชุดที่ตัดจากผ้าชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ฮันบกที่ใช้สำหรับแต่งกายในฤดูหนาวมักใช้ผ้าที่ทอจากฝ้าย และกางเกงขายาวมีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับ และการแผ่กระจายของความร้อนในร่างกาย

สีผ้าที่ถูกเลือกมาใช้ตัดชุด ฮันบกส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว ซึ่งสื่อถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์ แต่หากต้องการได้ชุดที่ดูหรูขึ้นมาอีกนิดสำหรับสวมใส่ไปงานสำคัญ ๆ ก็จะใช้ผ้าสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีดำมาประกอบ การแต่งกายด้วยชุดฮันบกไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องเป็นสีใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้สวมใส่เป็นหลัก

หญิงสาวเกาหลี ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่จะมีชุดฮันบกเป็นของตนเองสำหรับใช้ใส่ในวันสำคัญ ต่าง ๆ โดยเราจะสังเกตได้ว่า ชุดฮันบกของหญิงสาวจะถูกออกแบบมาให้เป็นกระโปรงพองยาว และเสื้อตัวสั้น ทั้งนี้ก็เพื่อพรางรูปร่าง และปกปิดส่วนเว้าส่วนโค้งของผู้สวมใส่ไม่ให้เป็นที่ดึงดูดสายตาของเพศตรง ข้ามมากนั่นเอง


เป็น ชุดฮันบกที่บุคคลในราชสำนักโชซอน เช่น ขุนนาง พระบรมวงศานุวงศ์ สวมใส่กันเวลาทำงานราชการ นอกจากนี้ชุดควานบกแต่ละแบบยังใช้แยกยศ หรือฐานะของเจ้าของได้

ชุดกิมโมโน

  สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย
     ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
     ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ 
     ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตเอง เรียกว่าเป็น "ชุดเครื่องแบบ" โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
     สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น

อังกฤษสมัยฟื้นฟู สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7-8 (1485-1447)

อังกฤษสมัยฟื้นฟู
สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7-8 (1485-1447)
ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 (1485-1509) เสื้อทูนิคของชายสั้น เปิดอก มองเห็นชุดปักด้านใน บริเวณคอเสื้อมีจีบ สวมเสื้อ Gown ทับ แขนพอง เจาะผ้า ผู้หญิงทรงกระโปรงยังเป็นทรงระฆัง ชั้น ในเป็นผ้าดิบแข็งเพื่อช่วยให้กระโปรงพอง เสื้อรัดรูป แขนเสื้อจะยาวและกว้าง

ผม ชายไว้ทรงบ๊อบ สวมหมวกกำมะหยี่ดำ เรียกว่า Gable hood ใช้สวมทับหมวกชั้น ใน อีกที มีเชือกผูกให้พองไว้ด้านหลัง ด้านหน้าเป็นกระบังมีปักลวดลาย มีผ้าอีกชั้น รัดไว้ใต้คาง

รองเท้าเป็นผ้าหนัง หรือกำมะหยี่ มีปักและประดับด้วยเพชรพลอย

ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (1509-1541) การแต่งกายมี 2 แบบ
แบบเสื้อไหล่กว้างและหนุนให้ตั้งเพื่อให้ดูสง่า แขนพองมีการเจาะผ้า สวมกางเกงรัดรูป รองเท้าหัวเหลี่ยม สวมเสื้อเชิ้ต และทูนิคไว้ข้างใน ปกระบายรูดติดลำคอ มีไหมสีดำ ผ้าผูกที่คอเสื้อ ต่อมากลายเป็นไทด์ (Tied) ปลายแขนเสื้อเชิ้ต รูดระบายมีปักแบบสเปน

อีกแบบคือ แบบไหล่แคบเพื่อทำให้ดูผอม ชั้น ในจะสวม Waistcoat เป็นเสื้อรัดรูปทำให้ เห็นเชิ้ต ตัวใน สวมกางเกงรัดรูป

การแต่งกายทั้ง 2 แบบ จะสามารถเปลี่ยนแบบได้หลายแบบ โดยเฉพาะแขนทำเป็น แขนปลอมไว้ สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยมีเชือกผูกที่หัวแขน

ผู้หญิง กระโปรงทรงบานบริเวณสะโพก และหน้าท้องมีเครื่องรัดเรียกว่า Kirtle สวม เสื้อ ผ้าต่วนลายดอกทับข้างนอก ดอกทับ และสวมเสื้อคลุม (Gown) ทำจากผ้ากำมะหยี่ คอเหลี่ยม กว้าง แขนหลวมสวมทับอีกที เริ่มมีชุดนอนทำจากผ้าต่วนสีดำ กุ๊นด้วยกำมะหยี่สีดำ นิยมน้ำหอม

อังกฤษสมัยกลาง

อังกฤษสมัยกลาง
ในช่วงต้นศตวรรษ ชาวอังกฤษชายหญิงจะสวมเสื้อ Shirt หรือ Camise หรือ Chemise ทำจากผ้าลินินหรือผ้าขนแกะเนื้อ บางแนบตัว เอาไว้ชั้น ใน ชั้น ที่ 2 จะสวมชุด Cotte หรือ Stola ซึ่งเป็นเสื้อแขนยามีกระดุมตั้งแต่ศอกถึงข้อมือ ชั้น ที่ 3 สวม Bliaud หรือ Tunic เป็นเสื้อหลวมยาว ถึงข้อเท้า แขนกว้าง ต่อมาผู้ชายจะเปลี่ยนมาใส่ Bliaud สั้น สวมถุงเท้าหนาเรียกว่า Stocking

หมวกผู้ชายสวม Skullcaps หรือ Hood ผู้หญิงจะสวม Headrail เป็นหมวกทำจาก ผ้าลินิน หรือฝ้ายทรงเหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง รีบ้าง แล้วมีเชือกผูกใต้คาง

ตอนกลางศตวรรษ ชายหญิงชาวอังกฤษจะสวมเสื้อแบบใหม่เรียกว่า Surcoat มีลักษณะ เหมือนเอียมโค้ง เว้าวงแขนลึกประมาณระดับสะโพก ต่อมาจะเป็น Dress ส่วนชุดชั้น ใน Cotte จะเปลี่ยนไปเป็น Petticoat และใส่หมวกที่เรียกว่า Chinband ทำด้วยผ้าแข็งจีบมีสายคาดคาง ต่อมาจะสวมเสื้อที่เรียกว่า Cotehardis ไว้ใน Surcaot มีลักษณะเข้ารูปรัดตัดผ่าหน้า มีกระดุมติด แขนยาวมีกระดุมติดจากศอกถึงนิ้วก้อย ภายหลังเรียกว่า Jacket

ตอนปลายสมัยมีหมวกเกิดขึ้น หลายแบบ มี liripipe หรือ Hood ใช้คลุมศีรษะและคอ มีหางยาวแบบ Turban หมวกทรง Bonnets และทรง Hennes

ทรงผมของชายจะตัดสั้น บางคนตัดเกรียนแบบพระ กันท้ายทอย ส่วนหญิงไว้ทรง Reticulated Headdress หรือถักเปีย 2 ข้าง ขมวดไว้ข้างหูแล้วคลุมด้วย Net ประดับเพชรพลอย

เสื้อคลุมจะมีหลายแบบลักษณะตัดยาว ทั้งมีปกและไม่มีปก แขนกว้างทรงกระบอกหรือ ปลายแขนกว้างประดับด้วยขนสัตว์

รองเท้าจะเป็นรองเท้าปลายงอน

อิตาเลียนสมัยฟื้นฟู (Italian Renaissance)




อิตาเลียนสมัยฟื้นฟู (Italian Renaissance)

สมัยฟื้นฟูเป็นช่วงสมัยในศตวรรษที่ 13, 14 จนกระทั่งถึงต้นศตวรรษที่ 15 และรุ่งเรืองมาก ในประมาณกลางศตวรรษ ประมาณ ค.ศ. 1500

ในประเทศอิตาลี การแต่งกายมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลต่อการแต่งกายของชาย มากกว่าหญิง ซึ่งเรียกว่า “Conventional” Style

การแต่งกายของชายประกอบไปด้วยเสื้อ เชิ้ต 1 ตัว ใส่ Tunic หรือไม่ก็ใส่เสื้อ รัดรูป (Doublet) กับกางเกงรัดรูป (Hose) มีเสื้อคลุมทับ Doublet เรียกว่า Pourpoint เสื้อเชิ้ต นั้น จะตัด จากผ้าลินินที่ทำให้มีความพองมาก ๆ และรวบไว้ที่รอบคอและรอบข้อมือ คอเสื้อจะมีทั้งคอกลม และคอวี และคอสี่เหลี่ยม ซึ่งมีมาก่อน ค.ศ. 1500-1525 เป็นลักษณะที่มีระบายเล็ก ๆ โดยรอบ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นแบบ Ruff (เป็นรอยพับ) ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 และเสื้อรัดรูป เปลี่ยนเป็นใช้ Tunic ชนิดสั้น แล้วสวมเสื้อนอกมีแขน ปลายแขนแคบ โคนแขนพองรัดเป็นปล้อง ๆ ทำตอนบนของแขนให้พอง

เสื้อคลุมค่อนข้างสั้น คลุมชุด Tunic ที่มีลักษณะหลวมและมีเข็มขัดรัดไว้มีจีบรูด คอเสื้อ กลมหรือเหลี่ยม มีแขนยาว แขนเสื้อสามารถถอดออกจากตัวเสื้อได้

เสื้อคลุมของชายจะผ่าหน้าตลอด มีความยาวต่างกัน มีแขนยาว มีปกหรือไม่มีก็ได้ ใช้ผ้า อย่างดีหรือขนสัตว์ เสื้อคลุมมีทั้งสั้น และยาว ใช้ผ้าวงกลมตัด มีความกว้างมากใช้คลุมจากไหล่ ทั้ง 2 ข้าง ผู้ชายสวมถุงน่องรัดรูปสีหลายสี รวมผูกไว้กับปลายขากางเกง กางเกงเป็นกางเกงขาสั้น ทรงกระบอก รูปปลายขาและตกแต่งให้โป่ง ใช้ผ้าไหมปักดอกและนิยมเจาะกางเกงให้เห็นผ้ารองใน ต่อมาเปลี่ยนกางเกงมาเป็นกางเกงขายาวแค่เข่า หรือรวบปลายขาไว้มีริบบิ้น ผูกเรียกว่า Venetians

ผู้ชายไว้ผมยาวประบ่า มีผมปกหน้าผาก สวมหมวกใบเล็ก ๆ คล้ายมงกุฎตกแต่งด้วย ขนนก เพชร พลอย มีชาวอิตาเลียนได้คิดประดิษฐ์หมวกที่ทำจากผ้ากำมะหยี่ สักหลาด ไหม ตัดเป็น รูปวงกลม ร้อยเชือกโดยรอบผูกพอดีศีรษะ เหลือไว้เป็นโบว์เล็ก ๆ บนหมวกจะประดับ เพชร นิล จินดา พลอย ต่อมามีการตกแต่งด้วยลูกไม้บริเวณริมขอบหมวก

รองเท้าผู้ชายเป็นรองเท้า Boot ใช้ผ้าผูก เครื่องเกาะเกี่ยวส่วนมากจะทำจากโลหะ

เครื่องแต่งกายของผู้หญิง ใช้เสื้อผ้าหรูหรามาก ใช้ผ้าทอยกดอกเป็นกำมะหยี่หรือใช้ผ้าซาติน ปักมุก และทอง เป็นสมัยที่เรียกว่า Pearl age การแต่งกายหญิงจะใส่เสื้อลักษณะคล้ายกัน คือ สวมเสื้อคอกลม คอวี และคอเหลี่ยม ต่อมานิยมใช้ปกตลบได้ และวิวัฒนาการมาเป็นจีบรอบคอ มีการเจาะและแทรกผ้า สลับสีให้ตัดกัน ตามชายแขนเสื้อตกแต่งด้วยระบาย ตัวเสื้อจะมีเครื่องรัดอก และเอวให้ดูเล็ก เรียกว่า Corset กระโปรงจะจีบรูดพอง แล้วมีเสื้อคลุมไม่มีแขนคลุมอีกทีหนึ่ง รองเท้าเริ่มใส่รองเท้าส้นสูง ทำด้วยผ้าหรือหนังเจาะ เครื่องประดับ ต่างหู ประดับด้วยเพชรพลอย มีเข็มขัด ทองเงิน เข็มกลัด นิยมถุงมือ ทำ จากผ้าไหม กำมะหยี่ปักด้วยเพชรนิลจินดา นิยมใช้น้ำหอมที่ใช้กันในยุโรป

อิตาเลียนสมัยกลาง (Gothic)

อิตาเลียนสมัยกลาง (Gothic)
เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างศตวรรษที่ 10, 11 และ 15 เป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเสื่อม อำนาจลงและหมดยุคของ Constantinople ใน ค.ศ. 1453 การแต่งกายของชายหญิง ยังคง คล้ายกับสมัย Byzantine ซึ่งสีและแบบของเสื้อผ้าจะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของพระ

ตอนแรกผู้ชายจะสวมชุดทูนิคแขนยาว ตัวยาวถึงเข่าเรียกว่า Bliaud ส่วนผู้หญิงสวมชุด แบบเดียวกันยาวถึงข้อเท้า จะใส่เสื้อคลุมที่เรียกว่า Pallium มีเข็มกลัดกลัดไว้ ผู้ชายจะใส่ถุงน่อง ยาวรัดรูปเรียกว่า Stockings ซึ่งได้แบบมาจากตอนเหนือของบาบาเรียน ถุงน่องยาวจะยึดกับ เข็มขัดที่คาดเอว ซึ่งสายนี้จะคาดไขว้มาจากใต้เข่า ต่อมาผู้ชายก็เปลี่ยนมาใส่ Bliaud ยาวถึงหน้า แข้ง

ศตวรรษที่ 11 มีชุดชั้น ในเรียกว่า Chainse ที่ทำจากผ้าขนสัตว์ ลินิน ป่าน หรือไหม ซึ่งจะใช้เป็นกระดุมหรือผูกเชือกติดที่คอ ใช้ใส่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่อมา Chainse ได้กลายมา เป็นชุดชั้น ในที่เรียกว่า Lingerie ซึ่งทำจากผ้าแพรบางสามารถซักได้ และมีประดับตกแต่งด้วยลูกไม้ บริเวณรอบคอและข้อมือ แล้วสวม Bliaud หรือชุดทูนิคยาวถึงพื้น ทับ ซึ่งใส่ได้ทั้งปล่อยตรง ๆ หรือ ใช้เครื่องรัดเอวที่ตกแต่งด้วยเพชรอีกทีก็ได้ ชุดนี้จะมีแขนยาว ผ้าจะมีการแตกต่างหรูหรามาก ถ้าหนาวจะมีการตกแต่งชายเสื้อ หรือแนวเส้นตะเข็บต่าง ๆ ด้วยขนสัตว์ที่เรียกว่า Ermine

ส่วนในศตวรรษที่ 13 ผู้ชายจะสวมชุดทูนิคที่สั้น มากเหนือเข่าขึ้น มา บางทีก็ใส่ตรงหรือไม่ ก็คาดเข็มขัด โดยจะมีชายเหลือต่ำจากเอวประมาณ 2-3 นิ้ว ใส่ถุงน่องยาวถึงสะโพกสีแดงและ ประดับด้วยทองและเพชร สวมรองเท้าหนังนิ่ม ๆ

ผ้า ใช้ผ้าลินินจะย้อมด้วยสีแดงเลือดหมู เขียว นำ้เงิน และม่วงแดง ผ้าทอยกดอกและ ผ้ากำมะหยี่ปัก ซึ่งในศตวรรษที่ 12, 13 ชาวซิซิลีจะทอผ้าไหมยกดอกได้สวยที่สุดในโลก แต่ผ้า ขนสัตว์ก็ยังใช้อยู่

ชุดไว้ทุกข์ใส่ทูนิคสีดำและเสื้อคลุมเป็นแถบสีขาว ผู้หญิงจะสวมชุดสีขาวใส่หมวกแก๊บ และมีผ้าคลุมไหล่

เพศชายที่สูงอายุจะสวมที่คลุมศีรษะที่เรียกว่า Liripipe มีลักษณะเป็นทั้งที่คลุมศีรษะ (Hood) และคลุมไหล่ด้วย ด้านหน้าจะมีส่วนยื่นออกมาคล้ายปีกหมวก แล้วสวมใส่จะปิดคอ หรือแขน หรืออาจจะปล่อยลงไปทางด้านหลังก็ได้ ต่อมาวิวัฒนาการเป็นผ้าจีบและม้วนบนหมวก ลักษณะเหมือนหมวกแขก เรียกว่า Roundlet

ผู้ชายจะใส่หมวกเป็นรูปครึ่งวงกลม ขอบหมวกจะม้วนขึ้น และมีขนนกยาวจะสวมทับ บนผ้าคลุมศีรษะอีกที

ในศตวรรษที่ 14 ผู้หญิงมีการใช้เครื่องรัดทรง สวมเสื้อกระโปรงเป็นชุดติดกัน ตัวกระโปรง มีจีบรูดพอง มีการตกแต่งด้วยลูกไม้ด้านหน้าตามแนวตะเข็บเปิดด้านหน้า เป็นรูปแบบของการ เน้นรูปร่างทรวดทรงให้เห็นลักษณะเส้นกรอบนอก (Silhouette) ของรูปร่าง

ในยุคกลางนี้ การคลุมศีรษะของสตรีเป็นสิ่งที่สำคัญจะคลุมด้วยผ้าฝ้ายหรือไม่ก็ผ้าลินิน จะเป็นผ้าสี่เหลี่ยมหรือวงกลม จะคลุมไหล่แล้วปล่อยเป็นหางตํ่าลงมา เหมือนกับการห่มแบบ Palla เรียกว่า Headrail หรือ Wimple แล้วใส่มงกุฎทับอีกที ซึ่งเป็นเครื่องแสดงยศฐาบรรดาศักดิ􀃍 จนกระทั่วถึงศตวรรษที่ 16 หมวกมีลักษณะการใช้ผ้าลินินสีขาวพันใต้คางและรอบศีรษะ ที่เรียกว่า Chinband ผมทรง Madonal Style คือเป็นทรงแสกกลางแล้วปล่อยยาวลงไปก็เป็นที่นิยมกัน

หมวกที่ใช้ก็มีหลายรูปแบบ เป็นแบบ Hood หรือ Chaperon แบบ Chinband แบบ Wimple เป็นการใช้ผ้าคลุมศีรษะถึงคอ ใช้ Net คลุมผม หมวกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Hennin เป็นหมวกลักษณะเหมือนภูเขาสูง 2 ลูก และมีผ้าบาง ๆ คลุมเวลาสวมใส่

รองเท้าจะใช้ผ้ากำมะหยี่ปักด้วยเพชรนิลจินดาสีต่าง ๆ หุ้มถึงข้อเท้า ต่อมานิยมใช้หนังอ่อน นุ่มแทน รองด้วยไม้หนาเหมือนเกี๊ยะเรียกว่า Chopine สวมถุงมือทำด้วยหนังปักด้วยเพชรนิล จินดา

ในสมัยกลาง เสื้อผ้าจะมีราคาแพง หรูหรามาก เครื่องประดับต่าง ๆ จะเป็นเพชรนิลจินดา เป็นทองรูปพรรณ
การแต่งกายของชาวอิตาเลียนสมัยกลางรูปแบบหนึ่ง

การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ THE NORTHERN EUROPEANS CUSTOMES ศตวรรษที่ 1 หลังคริสตกาล (The first Centuries A.D.)



การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
THE NORTHERN EUROPEANS CUSTOMES

ศตวรรษที่ 1 หลังคริสตกาล (The first Centuries A.D.)
ชาวยุโรปตอนเหนือจะถูกเรียกว่า ชาวบาบาเรียน (Northern Barbarians) จะใส่เสื้อผ้า คล้ายกับชาวเปอร์เซีย ส่วนมากเสื้อผ้าจะนำมาใส่เพื่อกันหนาว ใช้หนังแบนมาปกปิดบริเวณขา แล้วใช้เข็มขัดรัดทับไว้เพื่อกันไม่ให้หลุด ส่วนด้านบนก็ใช้ผ้าขนสัตว์ผืนสี่เหลี่ยมพับแล้วคลุมไว้ ส่วนผู้หญิงจะใส่ Tunic ยาวบ้างสั้น บ้าง สวมกระโปรงชั้น ใน (Petticoat) หรือเครื่องรัดสะโพก ใช้ผ้าคลุมไหล่แล้วกลัดด้วยเข็มกลัด คาดเข็มขัดรัดใต้อกที่ชุด tunic ทำให้มีรอยจีบรูด

ตอนที่อยู่ใต้การปกครองของโรมันพบว่า ชาวบาบาเรียนจะใส่กางเกงสวมชุดทูนิคสั้น รัดเข็มขัด เสื้อมีแขนมีเสื้อคลุมไหล่ บางทีฤดูฝนจะใส่หมวก (Cap) ทำจาก Fur ชาวบาบาเรียน จะทอและย้อมผ้าเอง นิยมคลุมไหล่ด้วยผ้าขนสัตว์สี่เหลี่ยมมีสีน้ำเงินและดำ เสื้อและกางเกงจะมี สีสดใส มีทั้งลายทางและเป็นตา จะใช้สีแดงเพื่อให้ดูเด่น ผู้หญิงไว้ผมยาวบ้างก็ถักเปีย ผู้ชายไว้ ผมยาวประบ่า รู้จักการใช้วิกที่ทำจากขนสัตว์ และไหม นิยมย้อมผมสีแดง

เครื่องประดับ มีเข็มกลัด หัวเข็มขัด ปิ่นปักผม สร้อยคอ แถบคอเสื้อ ทำจากโลหะผสม ทองแดง ดีบุก และทองคำ

ในสมัยที่พ้นจากการปกครองของโรมัน ผู้ชายจะใส่ชุดทูนิคสั้น ผู้หญิงใส่ชุดทูนิคยาว สี ขาว แดง เขียว ม่วง มีสายสะพายเป็นสี

รองเท้าจะเป็นรองเท้าแตะธรรมดา Style แบบอินเดียแดงมีสายคาด ถ้าเป็นรองเท้า Boot จะมีสายหนังคาดจนถึงใต้เข่า ผู้ชายสวมหมวกหนังหรือขนสัตว์ ลักษณะเหมือนฝาชี มีสายรัดใต้คาง เหมือนหมวกผู้หญิง แต่ผู้หญิงกลับใช้ผ้าสี่เหลี่ยมพับเหมือนผ้าคลุม Palla คลุมศีรษะและคลุมทั้งทูนิค

ต่อมาในสมัยที่ Byzantine รุ่งเรือง ผู้ชายสวมกางเกงยาว เสื้อทูนิค แขนยาว ตัวสั้น รัดเข็มขัด มีผ้าคลุมที่ไหล่ มีเข็มกลัด ใส่ถุงมือที่เรียกว่า Mitten มีลักษณะไม่มีนิ้ว

ผู้หญิงใส่เสื้อทูนิค 2 ชั้น ชั้น ในแขนยาวทำจากผ้าลินิน ต่อมาเรียกว่า lingerie ชั้น นอก ทูนิคยาวตรง ทำจากผ้าที่หรูหรามีแขนบาน ประดับด้วยทอง หิน มีเสื้อ คลุมไหล่ ไม่มีแขน (Mantle) มีเข็มกลัดไว้ด้านหน้า เวลาเข้าโบสถ์จะมีผ้าคลุมศีรษะ

เครื่องประดับจะทำจากทอง เงิน มุก และหินสี เครื่องรัดชั้น ใน (Girdles) จะตกแต่ง ด้วยทอง และเพชรพลอย

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแต่งกายประจำภาคใต้

กว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้”   ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย
ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด)    หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
 
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้

การแต่งกายประจำภาคกลาง

ภาคกลาง

    ภาษาภาคกลาง  ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญ หรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง  การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า   ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
 
ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

การแต่งกายประจำภาคเหนือ

ภาคเหนือ

มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง

ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป

ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือ
การแต่งกายเป็น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า 1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
   2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
   3.ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
   4.ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

การแต่งกายประจำภาคอีสาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)


ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน”
ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)
การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน


ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู
การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิง
ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก
ทั้ง ลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณี ที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน

เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานใต้
คือ กลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
 

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รัชกาลที่5 (พ.ศ. 2411-2453)


      ในรัชกาลนี้ไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น ทรงโปรดให้มีการประกาศสวมเสื้อเข้าเฝ้า แต่ในเวลาปกติแล้ว บรรดาขุนนาง เจ้านาย และเสนาบดียังนุ่งผ้าผืนเดียว ไม่สวมเสื้อ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง ราชทูตอังกฤษเล่าเรื่องที่เข้ามากรุงเทพฯ ภายหลังมาอีก 3 ปี ว่า เมื่อ ไปหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่ครั้งแรก จัดรับอย่างเต็มยศ เห็นสมเด็จพระยาองค์ใหญ่แต่งตัวนุ่งจีบ คาดเข็มขัดเพชรแต่ตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ขุนนางผู้น้อยซึ่งเป็นบริวารอยู่ในที่นั้นก็คงไม่สวมเสื้อเหมือนกันทั้งนั้น เพราะถือว่าต้องสวมเสื้อในเวลาเข้าเฝ้า เวลาอื่นยังมีเสรีภาพที่ จะรับแขกหรือไปไหนตัวเปล่าได้เหมือนอย่างเดิม” 
การที่ไม่นิยมสวมเสื้อเพราะเสื้อผ้าหายากมีราคาแพงและทำความสะอาดลำบาก เนื่องจากไม่มีสบู่ใช้อย่างปัจจุบัน การทำความสะอาดต้องใช้ขี้เถ้ามาละลายน้ำซึ่งเรียกว่า ด่าง และใช้น้ำนี้มาซักผ้า น้ำด่างนี้ยังกดเสื้อผ้าให้เปื่อย ขาดง่าย ไม่ดีเหมือนใช้สบู่อย่างสมัยต่อมา ระหว่างสงครามโลกสบู่หายาก จึงได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ผงซักฟอกเข้ามาแทนที่และเป็นที่นิยมใช้กันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2422


    สตรีในราชสำนัก นุ่มผ้าจีบลายทอง ห่มสไบปัก ใช้เครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ทับทรวง (เครื่องประดับอก) พาหุรัด (เครื่อประดับแขนหรือทองต้นแขน) สะอิ้ง (สายรัดเอว) สร้อยสังวาล (สร้อยยาวใช้คล้องสะพายแล่งที่เรียกว่าสร้อยตัว) ตุ้มหูเพชร แหวนเพชร ฯลฯ และยังคงไว้ผมปีกเหมือนรัชกาลต้น ๆ

รัชกาลที่ 1-3 (พ.ศ. 2325-2394)

    ในราชสำนัก สตรีนุ่งผ้ายกหรือผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ ผมตัดไว้เชิงสั้น (เนื่องด้วยในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดสงคราม หญิงต้องตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวเป็นชาย
สะดวกในการหนีภัยจากพม่า)

เดอะ สตีฟ ไฮ คอลล่า (The Stiff High Collar)



      เป็น คอเสื้อแข็งๆ ใส่เพื่อให้ปกเสื้อสูงขึ้น นิยมใช้กับผู้ชายในศตรรษที่ 19 โดยคอเสื้อจะเป็นสีขาว เวลาใส่ก็เอาชุดเชิ๊ตมาใส่ทับอีกที ทำให้เหมือนเป็นคนขี้โอ่ มีอำนาจ โดยบุคคลสำคัญที่ใส่ก็มี ออสกา ไวลด์Oscar Wildeนักประพันธ์ชาวไอซ์แลนด์

ทำไม มันถึงน่ากลัว? ที่เยอรมัน, เดนมาร์ก และดัชท์ เรียกเจ้าปลอกคอนี้ว่า"พ่อมือสังหาร father killer " ซึ่ง ดูรูปร่างคงจะทราบแล้วมั้งว่ามันน่ากลัวยังไง คือมันทำให้ทำให้คนสวมหายใจลำบากและอึดอัดที่ลำคอเพราะมันค่อนข้างบีบรัดคอ พอสมควร ซึ่งคนสวมมักเสียชีวิตในขณะใส่ชุดนี้ตอนเวลานอนและพอมันรัดคอคนสวมมักตาย เพราะขาดอาการหายใจอย่างไม่รู้ตัว และทำให้เกิดฝีในสมอง เวลากินข้าวก็ผ่านลำคอยากแต่ที่ร้ายสุดๆ คือมันเหมือนกิโยตินแบบพกติดตัวคือในปี 1800 ชายคนหนึ่งหัวขาดเพราะคอเสื้อไปเกี่ยวกับรถขณะวิ่งมาแล้ว


ลีด เมคอัพ(Lead Makeup)


     เป็นการทำ ให้หน้าขาวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของตะกั่ว ว่ากันว่าต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีกในยุคโบราณกว่า2,000 ปีมาแล้ว และนิยมในฝรั่งเศสศตวรรษที่ 14 -19 ซึ่งสังคมนั้นมันชั้นสูงมากๆ แบบใครผิวดำถือว่าเป็นคนไม่มีเงิน(เพราะคนผิวดำมักทำงานหนัก คนผิวขาวไฮโซไม่ต้องทำงาน) ซึ่งคนดังที่ใช้แป้งข่าวทานั้นก็มีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

เดอะ คอร์ซิท (The Corset)


    เดอะ คอร์ซิท (The Corset) เป็นเสื้อรัดลำตัวสตรี,เสื้อยกทรงรัดรูปของสตรี และชุดชั้นในผู้หญิงที่สวมเพื่อให้สะโพกและหน้าอกเข้ารูปทรง นิยมในช่วงทศวรรษที่ 1830-1839 สมัย วิกตอเรียนที่ตั้งกฎเกณฑ์ศิลธรรมให้ผู้หญิงต้องใส่ ไม่ใส่ถือว่าผู้หญิงคนนั้นสกปรก ต่ำต้อย ไม่มีมารยาทและไม่มีศิลธรรม และสมัยศตวรรษที่ 19นิยมให้สตรีมีเอวคอดกิ่ว อกตั้ง ทำให้เสื้อนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โอโคะโบะ (ญี่ปุ่น, ศตวรรษที่ 18-ปัจจุบัน)



     นอกจากรองเท้าเกี๊ยะที่คนรู้จักกันดีแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังมี "โอโคะโบะ" เป็นรองเท้าอีกคู่หนึ่งที่น่าสนใจ ตั้งแต่ก่อนช่วงปี 1970 ที่ไมโกะ หรือ เกอิชาฝึกหัด จะต้องใส่โอโคะโบะเอาไว้ แต่หาใช่เพื่อเหตุผลด้านความสวยความงาม หากแต่เพื่อให้ส้นที่สูงถึง 5.5 นิ้ว ช่วยยกมิให้ชายกิโมโนลากระเรี่ยพื้นยามเดิน พื้นรองเท้าด้านบนที่บากเข้าลึกก็บังคับให้ต้องเดินก้าวสั้น ๆ กันไม่ให้โคลนหรือน้ำดีดขึ้นมาโดนกิโมโนด้วย ตัวรองเท้าโอโคะโบะนั้นทำด้วยไม้ชิ้นเดียวกันทั้งหมด และเจาะส่วนกลางด้านในส้นให้กลวง ทำให้เกิดเสียงกังวาลเฉพาะตัวยามเดิน นอกจากนี้สายรองเท้าที่คาดด้านบนยังบอกถึงระดับของไมโกะแต่ละคนด้วย โดยไมโกะหน้าใหม่จะสวมโอโคะโบะที่มีสายสีแดง แต่หากเป็นไมโกะที่ใกล้ได้ขึ้นเป็นเกอิชาเต็มตัวแล้วก็จะใส่โอโคะโบะที่มี สายคาดสีเหลือง

รองเท้าส้นสูงของผู้ชาย (ยุโรป, ช่วงยุค 1700's)

     

    กางเกงขาพอง ถุงน่อง และรองเท้า กลายเป็นเครื่องแต่งกายสำคัญสำหรับผู้ชายในยุคศตวรรษ 1700's และเมื่อความสนใจในการแต่งกายเบนมาสู่ท่อนล่างของร่างกายมากขึ้น คุณผู้ชายจึงอยากจะมีเรียวขาที่ดูเรียวยาวสมส่วนดี รวมทั้งอยากให้ตัวสูงขึ้นดูสง่างามตา รองเท้าชายส้นสูงจึงถือกำเนิดขึ้นมา และมันก็ฮิตไปทั่วทั้งอาณาจักรเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ซึ่งมีรูปร่างสันทัด หันมาใส่รองเท้ามีส้นเพื่อเพิ่มความน่าเกรงขามสร้างบารมีแก่ตน และเมื่อเจ้าแผ่นดินใส่ ใคร ๆ ก็เลยใส่ตาม เป็นที่นิยมมากในยุคนั้นเลยทีเดียว แถมยังมีการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยริบบิ้น หัวเข็มขัด หรือแม้แต่ลายปักรูปกุหลาบด้วย

กับกับส์ (Kabkabs เลบานอน, ศตวรรษที่ 14-17)



     รองเท้าไม้ประดับแผ่นโลหะเงินนี้มาจากประเทศเลบานอน รู้จักกันในชื่อ กับกับส์ หรือ นาลินส์ ผู้หญิงตะวันออกกลางนิยมใส่เพื่อดีดตัวเองให้สูงจะได้พ้นความสกปรกจากฝุ่น ดินและพื้นที่เฉอะแฉะไปด้วยโคลน รวมทั้งใส่ในโรงอาบน้ำที่พื้นทั้งร้อนและเปียก สายด้านบนของกับกับส์ทำจากหนัง ผ้าไหม หรือกำมะหยี่ ส่วนพื้นรองเท้าบ้างประดับด้วยเงิน ทอง หรือดีบุกผสม และหากเป็นกับกับส์ของคนรวยก็จะฝังมุกเม็ดโตลงไปด้วย ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่งงาน กับกับส์ที่ทำจากไม้จะยิ่งถูกประดับให้วิจิตรงดงามมากขึ้น และในกรณีที่เจ้าสาวยังเป็นเด็ก กับกับส์ที่ใช้ก็จะมีความสูงมากขึ้นเพื่อให้เจ้าสาวดูตัวใหญ่ขึ้นด้วย แม้จะเป็นรองเท้าสำหรับผู้หญิง แต่ผู้ชายก็สวมใส่มันอยู่บ้าง โดยจะลดทอนการประดับประดาลง ส่วนชื่อ "กับกับส์" ทีเรียกมันนั้น เลียนมากจากเสียงยามที่ส้นรองเท้ากระทบกับพื้นหินอ่อนเวลาเดินนั่นเอง

รองเท้าสานจากไม้เบิร์ช (ฟินแลนด์ ยุคกลางศตวรรษที่ 20)


      ผู้หญิงในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 ใส่รองเท้าชนิดนี้กันแทบทุกวัน โดยนำผ้ามาห่อพันเท้าก่อนที่จะสวมเข้าไปในรองเท้าซึ่งสานจากเปลือกไม้อีกที ทั้งยังมีบ่อยครั้งที่รองเท้าสานนี้ถูกนำมาสวมใส่เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้า ราคาแพงที่สวมอยู่ด้านในเลอะเปรอะดินโคลนจากการลุยฝนหรือหิมะ มันมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นราว 1 สัปดาห์เท่านั้น ไม้ที่นิยมนำมาทำรองเท้าสานนี้มากที่สุดคือไม้เบิร์ช ตามมาด้วยเปลือกไม้จากต้นลินเดนและต้นเลมอน นอกจากในฟินแลนด์แล้ว ประเทศรัสเซีย นอร์เวย์ และสวีเดน ก็มีรองเท้าสานจากเปลือกไม้เป็นของตัวเองด้วย

ชอพินส์ รองเท้ายกพื้นจากอิตาลี (Chopines อิตาลี 1580-1620)



     ในปัจจุบัน การหาดูรองเท้าชอพินส์แบบโบราณแท้ ๆ แม้ในพิพิธภัณฑ์ก็ถือเป็นเรื่องยาก มันมีต้นกำเนิดในยุคเรเนสซองส์ และเป็นที่นิยมสำหรับสุภาพสตรีในยุคศตวรรษที่ 17 เป็นอย่างมาก จุดประสงค์ของรองเท้าที่ยกพื้นขึ้นมากกว่า 5 นิ้ว คือการทำให้ผู้สวมใส่ดูสูงโดดเด่นเป็นสง่า แต่ก็จำเป็นให้ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองขณะเดินเพื่อไม่ให้ล้มลง นอกจากนี้มันยังถูกประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงละเมียดละไมเป็นที่สุดด้วย ตัวรองเท้ามักทำจากไม้ แล้วหุ้มด้วยผ้าไหมหรือกำมะหยี่ ตกแต่งด้วยแผ่นเงินฉลุลาย ห้อยพู่ประดับสวยงาม แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครได้ยลความงามของรองเท้าชอพินส์เท่าไรนัก เพราะมันมักถูกปิดบังไว้ด้วยชุดกระโปรงยาวที่คลุมรองเท้าเอาไว้มิดชิดนั่น เอง

รองเท้าไร้ส้น


      มันเปิดตัวสู่โลกเป็นครั้งแรกในงานเดินแบบของแบรนด์ Antonio Berardi เมื่อปี 2007 และเป็นที่ฮือฮามากมายอีกครั้ง เมื่อวิคตอเรีย เบคแฮม ได้สวมใส่มันในปี 2008 ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบรองเท้าไร้ส้นเป็นคนแรกกล่าวว่า หากคิดว่ารองเท้าคู่นี้จะทำให้เจ็บเท้าล่ะก็ ผิดถนัดเลย เหล่านางแบบที่เข้ามาลองสวมเพื่อซ้อมเดินแบบแม้จะรู้สึกแปลก ๆ กับมันในตอนแรก แต่สุดท้ายก็บอกว่าใส่มันเดินได้สบาย ๆ ไม่ต่างอะไรกับรองเท้าทั่ว ๆ ไป มันรักษาสมดุลของร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี แพทย์ได้เตือนว่ามันอาจทำร้ายเท้า หัวเข่า และกระดูกสันหลังได้ หากว่าใส่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

พาดูกัส รองเท้าแตะของชาวอินเดีย (อินเดีย, ช่วงปี 1700's)

    
      พาดูกัส นับเป็นรองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอินเดีย มันมีเพียงส่วนที่เป็นพื้นรองเท้ากับตุ่มที่โผล่ออกมาให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้า และนิ้วชี้หนีบยึดเอาไว้เท่านั้น นอกจากพาดูกัสแบบธรรมดาแล้ว ยังมีพาดูกัสแบบหนามสำหรับผู้มีรสนิยมชอบทรมานตนเอง หรือเป็นพวกมาโซคิสม์ด้วย ผู้ที่เป็นมาโซคิสม์บางรายชอบความรู้สึกทิ่มแทงจากหนามแหลม โดยหลังจากที่ร่างกายถูกทรมานจากปลายหนามราว 20-40 นาที กลไกของร่างกายจะสั่งให้หลั่งสารเคมีระงับความเจ็บปวดชนิดหนึ่งออกมา ทำให้เกิดความรู้สึกชา เคลิ้ม และเหมือนตกอยู่ในภวังค์ บ้างก็เทียบว่าเป็นความรู้สึกเหมือนไปถึงจุดสุดยอดเลยทีเดียว แม้จะทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ รองเท้าพาดูกัสหนามกลับถูกสวมใส่โดยนักบวชชาวฮินดู หรือผู้บำเพ็ญเพียรทรมานร่างกายตนเอง

รองเท้าเจ้าสาวหัวแหลมทำจากไม้ (ฝรั่งเศส, ยุคปลายศตวรรษที่ 19)


   รองเท้าเจ้าสาวทำจากไม้คู่นี้มีต้นกำเนิดมาจากแถบหุบเขา Bethmale ทางตอนใต้ของเมือง Saint Girons ในเขต Ariege ของประเทศฝรั่งเศส ย้อนกลับไปเมื่อสมัยศตวรรษที่ 9 ชาวบ้านเมืองนี้ต่อสู้ชนะกลุ่มแขกมัวร์ผู้มาลักเอาตัวผู้หญิงในหมู่บ้านไป เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะจึงได้ควักหัวใจของศัตรูออกมาปักที่ปลายแหลมของยอด รองเท้าที่ทำจากไม้วอลนัท ซึ่งรองเท้าหนึ่งข้างจะทำมาจากไม้วอลนัทชิ้นเดียวกันทั้งหมด ภายหลังจึงมีการดัดต้นวอลนัทให้เป็นรูปร่างโค้งงอตามที่ต้องการเพื่อให้นำมา ทำรองเท้าได้ง่ายขึ้น และชายหนุ่มก็จะมอบรองเท้าคู่นี้ให้แก่หญิงสาวของเขา โดยเชื่อว่ายิ่งปลายยอดของรองเท้าแหลมมากเท่าไร ก็แสดงถึงความรักที่ชายผู้นั้นมอบให้มากเท่านั้น

บัลเลต์บูท (1980's-ปัจจุบัน)


   รองเท้าที่ผสมผสานระหว่างรองเท้าบัลเลต์กับรองเท้าส้นสูงเข้าไป ได้ออกมาเป็น บัลเลต์บูท หน้าตาแปลก ๆ เดิมทีแฟชั่นนี้จำกัดอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ของคนที่หลงใหลรองเท้าหน้าตาประหลาด แต่แล้วมันกลายเป็นรองเท้าแฟชั่นหวือหวาไปในช่วงปี 1980's เมื่อใส่แล้วปลายเท้าจะเหยียดตรงแน่วราวกับกำลังเต้นระบำบัลเลต์อยู่ อย่างไรก็ดีมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ เป็นแค่รองเท้าเอาไว้ใส่เก๋ ๆ ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นเอง

รองเท้ากลีบบัว (จีน, ศตวรรษที่ 10-ปี 2009)


     รองเท้ากลีบบัวมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนในช่วงยุคศตวรรษที่ 10 จวบจนถึงราวปี 2009 นี้ มันเป็นรองเท้าคู่เล็กกระจิริดเสียจนนึกไม่ถึงว่าจะสามารถใส่เท้าของคนเข้า ไปได้จริง ๆ แต่สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นมาแล้วพร้อม ๆ กับวัฒนธรรมการรัดเท้าของชาวจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ที่เชื่อว่าเท้าที่รัดเป็นรูปดอกบัวจะบ่งบอกถึงอนาคตที่ดีของลูกสาว อย่างการได้แต่งงานออกเรือนไปกับชายที่มีฐานะดี

          ส่วนโรงงานผลิตรองเท้ากลีบบัวแห่งสุดท้ายในจีน คือโรงงานรองเท้าจื้อเฉียง ที่เปิดโรงงานในปี 1991 ผลิตรองเท้าเพื่อขายให้กับหญิงที่เคยรัดเท้ามาแต่เด็ก ๆ และเติบโตมาพร้อมเท้ากลีบบัว แต่แล้วก็ได้สั่งยกเลิกไลน์การผลิตรองเท้ากลีบบัวไปเมื่อปี 2009 นี้เอง อย่างไรก็ดีที่นี่ยังคงรับผลิตรองเท้ากลีบบัวตามออร์เดอร์เฉพาะที่สั่งเข้า มาอยู่

Panniers :: กระโปรงทรงสุ่มไก่


   Panniers หรือ กระโปรงสุ่มไก่ เป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มจากชนชั้นสูงในวังที่ชอบใส่กระโปรงสุ่มแบบใหญ่ๆ โดยเฉพาะชุดกระโปรงของพระนางมารี อองตัวเนต (ตามภาพด้านบน) ซึ่งกระโปรงมีความกว้างมาก จนไม่สามารถนั่งเก้าอี้ธรรมดาได้
กระโปรงแบบนี้ทำให้ชีวิตของผู้หญิงในสมัยนั้นลำบากกันมาก เพราะขนาดที่ใหญ่มากทำให้บางครั้งเข้า ออก ประตูไม่ได้ เวลาเข้าโรงหนังหรือโรงละครโอเปร่าก็ต้องจ่ายเงินซื้อตั๋วที่นั่งด้านข้าง ซ้าย ขวา เพิ่ม ถึงจะสามารถนั่งได้ นอกจากนั้น กระโปรงแบบนี้ยังอันตรายมากอีกด้วย เพราะชายกระโปรงมักจะติดไฟเมื่อเข้าใกล้เตาผิง หรือเทียนโดยคนใส่ไม่รู้ตัว รวมถึงกระโปรงทรงนี้เมื่อถูกลมพัดแรงๆ แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนร่มชูชีพอย่างดี ทำให้คนใส่ลอยละลิ่ว ถึงกับมีเรื่องเล่าว่า มีผู้หญิงที่ถูกพัดตกหน้าผาเพราะใส่กระโปรงแบบนี้มาแล้ว

Big Wigs :: วิกผมใหญ่ๆ


   เทรนนี้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชาแห่งฝรั่งเศสในตอนนั้น เริ่มมีอาการศีรษะล้าน ซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องน่าอับอายมาก พระองค์จึงเริ่มสวมใส่วิกผมลอนขนาดใหญ่เพื่อปกปิดศีรษะไว้ เมื่อเห็นดังนั้น พวกขุนนาง ข้าราชบริพารในวังก็เริ่มสวมใส่วิกตาม ด้วยความที่สมัยนั้นวิกเป็นของที่มีราคาแพงมาก และการดูแลรักษาก็ยุ่งยาก ทำให้มันเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าผู้สวมใส่คือผู้มีอันจะกินที่มีสถานะทางสังคมสูง เทรนนี้ดำเนินไปเป็นเวลาประมาณ 150 ปี
หลังจากนั้น ช่วงศตวรรษที่ 18 ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส เทรนนี้ก็กลับมาได้รับความนิยมอีก โดยผู้หญิงในยุคนั้นจะสวมวิกขนาดใหญ่ ซึ่งสูงได้ถึง 2 ฟุต ประดับด้วยเครื่องประดับผมอันเล็กๆ ผู้ที่นำเทรนที่สุดในยุตนั้น ก็คือพระนางมารี อองตัวเนต ซึ่งมักจะสวมวิกใหญ่โต อลังการกว่าใครเพื่อน วิกเหล่านี้มักจะถูกสวมใส่ตลอดเวลาเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการสระ หรือหวีเลย ทำให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พวกเห็บ เหา ต่างๆ